ระบำพรหมาสตร์



รูปแบบ และลักษณะการแสดง
       ระบำพรหมาสตร์ เป็นการแสดงกลลวงของฝ่ายยักษ์ (อินทรชิต) ที่จะทำลายกองทัพฝ่ายมนุษย์ (พระลักษมณ์) ลักษณะของระบำ จึงเป็นการร่ายรำอย่างวิจิตร สวยงาม เพื่อให้พระลักษมณ์ และพลวานรเคลิบเคลิ้มหลงใหล จนลืมหลง ไม่ทันระวังตัว สามารถทำให้อินทรชิตแผลงศรไปสังหารพระลักษมณ์ และไพร่พลได้ ระบำชุดนี้เป็นระบำหมู่พระ - นาง เริ่มด้วยการรำนำในขบวนทัพ และรำตามเนื้อร้องในเพลงสร้อยสน ซึ่งเนื้อเพลงมี ๔ คำกลอน กล่าวถึงเหล่าเทวดา - นางฟ้า มาจับรำระบำบรรพ์ อย่างรื่นเริงบันเทิงใจ การแสดงระบำชุดนี้ใช้ประกอบการแสดงโขนโดยเฉพาะ แต่ด้วยความเป็นมาตรฐานในท่ารำ และเพลงร้องระบำพรหมาสตร์จึงได้เป็นท่ารำชุดหนึ่งในหลักสูตรการศึกษานาฏศิลป์ไทย
       สำหรับการแสดงระบำพรหมาสตร์จะปรากฏอยู๋ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรต์ตอนศึกพรหมาสตร์ ซึ่งเป็นการรำตามรูปขบวนเกียรติยศเครื่องสูง และมีการเรียงลำดับเพลงดนตรี เพลงร้อง และกระบวนท่ารำเป็นขั้นตอน

การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้
  • ขั้นตอนที่ ๑
รำออกตามทำนองเพลงสร้อยสน
  • ขั้นตอนที่ ๒
รำตามบทร้องในเพลงสร้อยสน 
  • ขั้นตอนที่ ๓
รำเข้าตามทำนองเพลงเร็ว - ลา 
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง เพลงช้าสร้อยสน เพลงเร็ว (ชื่อเพลงต้นบรเทศ และเพลงแขกเบรเทศ) และเพลงลา
เครื่องแต่งกาย
ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่อง พระสวมเสื้อแขนสั้น ศิราภรณ์ชฎายอดชัย นางศิราภารณ์มงกุฏกษัตรีย์
   
บทร้องระบำพรหมาสตร์

- ปี่พาทย์ทำเพลงสร้อยสน -
- ร้องเพลงสร้อยสน -
 
ต่างจับระบำรำฟ้อน

ร่ายเรียงเคียงคมประสมตา
ซ้อนจังหวะประเท้าเคล่าคล่อง
วงเวียนเหียนหันกั้นกาง
ทอดกรกรีดกรายซ้ายขวา
เลี้ยวไล่ไขว่คว้าเป็นท่าทาง
เลี้ยวลอดสอดคล้องไปตามหว่าง
เป็นคู่คู่อยู่กลางอัมพร
 
บทระบำนี้พระนิพนธ์โดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ โดยทรงทำเป็นบทคอนเสิร์ตไว้สำหรับขับร้องประกอบการบรรเลง
โอกาสที่ใช้แสดง
ใช้ประกอบการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ขุนศึกพรหมาสตร์ หรือสำหรับการแสดงสาธิตระบำใบโขน
ระบำพรหมาสตร์
ประเภทการแสดงระบำ
ประวัติที่มาระบำพรหมาสตร์ เป็นระบำของเหล่าเทวดา - นางฟ้าอีกชุดหนึ่งสำหรับแสดงประกอบการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ เนื่อเรื่องกล่าวถึงอินทรชิตโอรสของทศกัณฐ์ กำลังทำสงครามติดพันอยู๋กับพระลักษมณ์ จึงใช้กลยุทธลวงพระลักษมณ์และกองทัพวานร โดยอินทรชิตได้แปลงกายเป็นพระอินทร์ เจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และให้การุณราชแปลงตัวเป็นช้างเอราวัณ ซึ่งเป็นพาหนะทรงของตน อีกทั้งให้บรรดาพลยักษ์นักรบในกองทัพแปลงกายเป็นเทพบุตร และนางฟ้า พากันเหาะฟ้อนรำ นำขบวนไปหน้าช้าง เพื่อลวงพระลักษมณ์ และกองทัพวานร ว่าขบวนเสด็จของพระอินทร์กำลังเสด็จผ่านมาในกลางอากาศ อินทรชิตหวังสบโอกาสเหมาะ จะลอบใช้สรพรหมาสตร์แผลงสังหารณ์พระลักษมณ์ และพลวานร ด้วยเหตุนี้ ระบำชุดนี้จึงเรียกในวงการนาฏศิลป์ไทยอีกชื่อหนึ่งว่า "ระบำหน้าช้าง" น่าจะเป็นเพราะเรียกตามลักษณะระบำ ที่รำอยู่หน้าช้าง
       เอราวัณของพระอินทร์แปลง กรมศิลปากรได้จัดโขนออกแสดงเป็นประจำทุกปี ซึ่งแต่ละชุดจะมีชั้นเชิงและลีลาลท่าทีของศิลปะที่แตกต่างกันไปตามเจตน์จำนงของการจัด โดยมุ่งหมายให้เป็นการฝึกศิลปิน และนักเรียนของกรมศิลปากร เกิดความรู้ความชำนาญในการแสดงแต่ละชุดแต่ละตอน ซึ่งบางชุดก็เป็นการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ บางตอนก็สืบทอดกันมาโบราณ อีกทั้งยังต้องการเสนอให้ผู้ชมเห็นความหลากหลายของการแสดงโขนด้วย ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ กรมศิลปากรได้จัดการแสดงโขนชุดนี้ที่โรงโขนหลวง มิกสักวัน สนามเสือป่า ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๓ กรมศิลปากรจึงได้จัดการแสดงโขนชุดศึกพรหมาสตร์ขึ้นอีกวาระหนึ่ง แต่ก็ยังคงรักษารูปแบบการแสดงศิลปะของเดิมไว้ด้วย ดังเช่นในองค์ที่ ๔ ศรพรหมาสตร์ ปรับปรุงโดย นายประพันธ์ สุคนธชาติท่านได้นำบทคอนเสิร์ตของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์มาใ้ช้ทั้งหมด โดยแต่งคำเจรจาแทรกในตอนท้ายของระบำพรหมาสตร์ 
        โขนชุดนี้ได้ปรับปรุงการแสดง พิมพ์บท และฝึกซ้อม พร้อมทั้งจัดฉาก แล้วเตรียมแสดงเป็นประจำ ณ โรงละคอนศิลปากร แต่ต้องระงับไปชั่วคราว ด้วยเกิดเหตุไฟไหม้โรงละคอนศิลปากรในวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๓ การแสดงโขนชุดนี้จึงต้องย้ายไปจัดแสดง ณ หอประชุมวัฒนธรรม สนามเสือป่า (ปัจจุบันคือ ตึกกองบัญชาการ กรป.กลาง) แล้วภายหลังต่อมาโขนชุดนี้ก็ได้นำมาจัดแสดง ณ โรงละครแห่งชาติ และที่อื่น ๆ อีกหลายครั้ง ท่ารำของระบำพรหมาสตร์ชุดนี้ได้รับการถ่ายทอด แล้วสืบทอดมาโดยครูอาจารย์นวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร

อ้างอิง
http://www.finearts.go.th/performing/parameters/km/item/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C.html


ระบำสี่บท




ประวัติความเป็นมา
          ระบำสี่บทเป็นระบำที่ยกย่องกันมาแต่โบราณ สันนิฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแต่ไม่มีหลักฐานปรากฏเด่นชัด แต่ละบทนั้นจะมีทำนองเพลงและการขับร้องที่แตกต่างกันออกไป  ผู้แสดงจะรำไปตามทำนองเพลง และแสดงกิริยาท่าทางตามบทร้องที่ปรากฏอยู่ในแต่ละเพลง  เหตุที่เรียนระบำชุดนี้ว่าระบำสี่บท ก็เนื่องจากมีบทร้องทั้งหมด 4 บทด้วยกัน และมีทำนองเพลงแตกต่างกัน 4 เพลง  ระบำสี่บทเป็นระบำมาตรฐานซึ่งประกอบด้วยบทร้องและทำนอง ได้แก่
             -          พระทอง
             -          เบ้าหลุด
             -          สระบุหร่ง
             -          บะลิ่ม
          รวมเรียกว่า “ระบำสี่บท” ระบำชุดนี้ยกย่องกันว่าเป็นระบำแบบฉบับ เรียกว่า“ระบำใหญ่” มักจะนำไปประกอบการแสดงโขน เช่น ระบำเทพบุตรนางฟ้าในตอนต้นของชุด “นารายณ์ปราบนนทุก” หรือชุด “เมขลา –รามสูร” หรือในตอนแสดงความยินดีเมื่อผู้ทรงฤทธิ์ได้ปราบอสูรและยักษ์ร้ายพ่ายแพ้ไป
การแต่งกาย จะแต่งกายยืนเครื่องพระ – นาง 


อ้างอิง

เที่ยวสมุย






บริเวณเกาะสมุยเคยมีการตั้งถิ่นฐานเมื่อประมาณ 1,500 ปีที่ผ่านมาโดยกลุ่มชาวประมง แต่เกาะแห่งนี้เพิ่งมีหลักฐานบันทึกครั้งแรกโดยชาวจีนเมื่อ 500 ปีที่ผ่านมานี่เอง ทั้งนี้มีการค้นพบเครื่องเคลือบเซรามิคจีนในซากเรือที่จมอยู่ใกล้ชายฝั่งของเกาะสมุย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจีนได้เข้ามาทำการค้ากับสมุยตั้งแต่เมื่อ 1,500 ปีที่แล้ว

บางทีสิ่งที่น่าทึ่งที่สุดในเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเกาะแห่งนี้คือการถูกยึดครองช่วงสั้นๆ โดยชาวญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
หลายปีที่ผ่านมา เกาะสมุยมีชื่อเสียงในเรื่องผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวและการประมง ซึ่งเป็นสินค้าหลักของเกาะ ส่วนสินค้าอื่นๆ จะนำเข้าจากแผ่นดินใหญ่ ทำให้เกิดการติดต่อค้าขายระหว่างเกาะสมุยและเพื่อนบ้านใกล้เคียง ทุกๆ เดือนเรือจากกรุงเทพมหานครเดินทางมาเพื่อรับมะพร้าว แต่เนื่องจากไม่มีท่าเทียบเรือหรือศูนย์กลางชุมชน ทำให้เรือต้องวนอยู่รอบๆเกาะเพื่อรอให้ชาวบ้านนำเรือประมงบรรทุกสินค้าออกไปส่งให้
ลิงมีบทบาทสำคัญในการเก็บมะพร้าวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลิงที่ได้รับการฝึกฝนจะสามารถปีนต้นมะพร้าวและโยนลูกมะพร้าวลงมาตามคำสั่งของเจ้าของ สิ่งนี้กลายเป็นภาพลักษณ์และเป็นสิ่งดึงดูดใจที่ทำให้เกาะสมุยกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม นักท่องเที่ยวสามารถชมการแสดงลิงเก็บมะพร้าวได้ทั่วไปบนเกาะรวมถึงบางส่วนที่ยังคงปฏิบัติกิจวัตรเช่นนี้เป็นเรื่องปรกติ ระหว่างท่องเที่ยวที่เกาะสมุยคุณอาจพบเห็นลิงนั่งซ้อนมอเตอร์ไซต์หรือในรถบรรทุกบนเส้นทางที่จะออกไปเก็บลูกมะพร้าวซึ่งเป็นภาพธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไปและน่ารื่นรมย์
ควายหรือกระบือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชุมชนเช่นกัน เป็นทั้งสัตว์ใช้แรงงานและแหล่งอาหารชั้นดี อีกทั้งป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของไทยดั้งเดิมและมักถูกโยงให้เข้าร่วมเมื่อมีการจัดงานเฉลิมฉลองด้วยทุกครั้ง ผ่านมาไม่นานนี้การชนควายได้กลายเป็นกีฬาแบบดั้งเดิมและเป็นเอกลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะสมุยไปแล้ว ฟังดูเหมือนเป็นกีฬาที่ต้องใช้ความรุนแรง แต่ความจริงเกมการตัดสินจะหยุดลงเมื่อฝ่ายนึงล่าถอยออกไปและเหลือผู้ชนะเพียงตัวเดียวเท่านั้น
ก่อนที่จะมีถนนนั้น การเดินทางจากเกาะไปที่อื่น ก่อนที่จะมีการจัดสร้างถนนหนทาง การเดินทางจากที่หนึ่งบนเกาะไปอีกทีหนึ่งเป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก ดังนั้นจึงนิยมใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางระหว่างหมู่บ้าน ส่งผลให้หมู่บ้านส่วนใหญ่มักสร้างอยู่ตามแนวชายฝั่งเพื่อความสะดวก หลายปีต่อมาหมู่บ้านต่างๆ เริ่มขยายพื้นที่ออกไปมากขึ้นทำให้ช่องว่างระหว่างหมู่บ้านลดน้อยลง ครอบครัวเริ่มการขยับขยาย มีการแต่งงานกันระหว่างหมู่บ้านทำให้เกาะเริ่มเจริญเติบโตมากขึ้น
ราวๆ ปีพ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) เริ่มมีการพัฒนาหลักๆที่สำคัญบนเกาะสมุย แต่ละหมู่บ้านมีวัดแยกเป็นของตนเอง และเพื่อเป็นการกระตุ้นส่งเสริมให้มีการติดต่อของพระในละแวกใกล้เคียง จึงเริ่มมีการสร้างถนนดินเพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินทางไปยังส่วนต่างๆ บนเกาะซึ่งดำเนินการไปอย่างช้าๆ หมู่บ้านหน้าทอนเป็นหมู่บ้านที่เติบโตและมีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นที่เดียวที่ให้บริการเรือข้ามฟากจากเกาะสมุยไปแผ่นดินใหญ่ ต่อมาได้มีการพัฒนาสร้างเส้นทางคมนาคมตัดผ่านหน้าทอน ละไมและเฉวงตามลำดับ จนกระทั่งในช่วงต้นของปีพ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) เส้นทางรอบเกาะจึงถูกสร้างขึ้น
อาสาสมัครจากหน่วยงานสันติภาพ (Peace Corp) เป็นชาวต่างชาติกลุ่มแรกๆที่เข้ามาในเกาะสมุยโดยใช้เส้นทางของเรือขนส่งมะพร้าว
จากเกาะที่ไม่มีความสำคัญ ไม่มีจุดเด่น แต่เกาะสมุยในปัจจุบันได้พัฒนาและเติบโตเป็นจุดหมายท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับวันหยุดพักผ่อนของประเทศไปแล้ว และถือเป็นคู่แข่งสำคัญของเกาะภูเก็ตบนชายฝั่งทะเลตะวันตกเลยทีเดียว

อ้างอิง
https://sites.google.com/a/kw.ac.th/tim-pang/keaasmuy/khan-txn-kar-tha-khorng-ngan

บทความสมาร์ทโฟน




ไอโฟน (อังกฤษiPhone) เป็นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตและมัลติมีเดีย ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทแอปเปิล โดยการทำงานของไอโฟนสามารถใช้งานส่งอีเมล ใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่งเอสเอ็มเอส ท่องอินเทอร์เน็ตผ่านทางซอฟต์แวร์ซาฟารี ค้นหาแผนที่ ฟังเพลง และความสามารถอื่น โดยมีอุปกรณ์หลักประกอบด้วย Wi-Fi (802.11b/g) บลูทูธ 2.0 และกล้องถ่ายภาพ 2.0-megapixel ไอโฟนรุ่นแรกมีลักษณะ 2.5G quad band GSM และ EDGE และรุ่นที่สองใช้ UMTS และ HSDPA
แอปเปิลได้เปิดเผยไอโฟนรุ่นแรกโดย สตีฟ จอบส์ ในงานแม็คเวิลด์ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 และวางจำหน่ายครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ไอโฟนได้ชื่อว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมประจำปีจากนิตยสารไทม์ ประจำปี 2550[2] โดยมีรุ่นถัดมาคือ ไอโฟน 3G ไอโฟน 3GS ไอโฟน 4 ไอโฟน 4S ไอโฟน 5 ไอโฟน 5C ไอโฟน 5S ไอโฟน 6 ไอโฟน 6พลัส ไอโฟน 6S ไอโฟน 6Sพลัส และ ไอโฟนSE โดยApple.Inc ได้เปิดตัวไอโฟนSE ซึ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559 ที่กลับไปใช้ขนาดหน้าจอเดียวกับไอโฟน 5S เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งไม่ชอบขนาดหน้าจอของไอโฟน 6, 6S, 6พลัสและ 6Sพลัส ซึ่งมีขนาดใหญ่เกินไป โดยไอโฟน SE มีสเปคเครื่องที่ดีกว่า iPhone 5S เช่น ในเรื่องของความเร็ว ที่เร็วกว่าสองถึงสามเท่า รวมทั้งปรับส่วนต่าง ๆ ให้เกือบเทียบเท่าไอโฟน 6S ต่อมาได้พัฒนาไอโฟนรุ่นต่อไปคือไอโฟน7 และไอโฟน7 พลัส ไอโฟนรุ่นล่าสุดคือ ไอโฟน8 ไอโฟน8 พลัส ไอโฟนสิบ (เท็น)



อ้างอิง